มัมมี่ กับ ความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ

มัมมี่ กับ ความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ

มัมมี่ กับ ความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ

มัมมี่ (อังกฤษ: Mummy) คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า “มัมมี่” มาจากคำว่า “มัมมียะ” (Mummiya) ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ

โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา

ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา

ในสมัยอียิปต์โบราณ เมื่อมีคนตายก็จะนำศพไป ฝังไว้ในทะเลทราย อัน ร้อนระอุ ความร้อน และความแห้งแล้งทำให้ร่างกายแห้งอย่างรวดเร็ว โดยที่แบคทีเรียไม่มีโอกาสได้ย่อยสลายศพเสียก่อน จึงกลายเป็นมัมมี่ไปตามธรรมชาติ คงจะมีการค้นพบโดยบังเอิญ

ต่อมาชาวอียิปต์ก็เริ่มใช้ โลงบรรจุศพ ก่อน ฝัง เพื่อป้องกันมิให้สัตว์ป่าแทะกินศพ แต่ก็กลับพบว่า ซากศพที่ฝังในโลง ได้เปื่อยเน่าไป ไม่แห้งและอยู่คงทนเหมือนแต่ก่อน เพราะโลงศพทำหน้าที่เก็บกักความชื้นจากร่างกาย เพียงพอที่จะอำนวยให้แบคทีเรียเจริญเติบโต และทำการย่อยสลายให้ศพเน่าเปื่อยสูญไปได้

ต่อมาอีกหลายร้อยปี ชาวอียิปต์ก็ได้ศึกษาทดลองวิธีต่าง ๆ เพื่อที่จะรักษาสภาพศพให้คงทนอยู่ได้ กรรมวิธีในการรักษาศพให้คงทน ประกอบด้วยการแช่อาบศพด้วยสิ่งที่ชะงักการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แล้วพันด้วยแถบผ้าลินิน ปัจจุบันเราเรียกกรรมวิธีนี้ว่า การทำมัมมี่

ขั้นตอนการทำมัมมี่

ขั้นตอนที่ 1 : ศพถูกนำไปยังเต๊นท์พิเศษ ที่เรียกว่า อีบู ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่ชำระศพให้บริสุทธิ์ ผู้ทำมัมมี่จะอาบศพด้วยเหล้าที่ทำจากน้ำตาลสด และชำระล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์

ขั้นตอนที่ 2 : ช่างก็จะผ่าช่องท้องด้านซ้ายเพื่อเอาอวัยวะภายในออก เนื่องด้วยอวัยวะภายใน ซึ่งมีความชื้นสูง จะเป็นสิ่งแรกที่เน่าสลายอย่างรวดเร็ว จึงต้องเอาออก เหลือไว้แต่หัวใจที่จะทิ้งไว้ภายในศพ เพราะพวกเขาเชื่อว่า หัวใจคือศูนย์รวมแห่งปัญญาและความรับรู้ทั้งปวง ที่ผู้ตายยังต้องการใช้ในโลกแห่งวิญญาณ

ขั้นตอนที่ 3 : ส่วน ตับ ปอด กระเพาะ และลำไส้ จะถูกนำมาชำระล้างจนสะอาด แล้วนำไปกลบไว้ด้วยเกลือเม็ดที่เรียกว่า Natron ซึ่งเป็นเกลือโซเดียมคาร์บอร์เนต

แล้วเขาจะสอดตะขอผ่านเข้าทางช่องจมูก เพื่อเกี่ยวเอาเนื้อสมองออกมา เพราะสมองก็เหมือนอวัยวะภายในที่มีความชื้นสูง ถ้าทิ้งไว้จะทำให้แห้งยาก และก่อให้เกิดการย่อยสลายได้ง่าย

ขั้นตอนที่ 4 : จากนั้นก็เอาศพไปวางกลบด้วยเกลือเม็ดให้แห้ง ของเหลวจากร่างกาย และผ้าที่ใช้ในการเตรียมศพทุกชิ้น ก็จะเก็บรักษาไว้อย่างดี เพื่อนำไปฝังพร้อมกับศพ

ขั้นตอนที่ 5 : ช่องว่างภายในก็ใส่เกลือเม็ดไว้ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย อันจะทำให้ร่างเปื่อยเน่าสูญสลายไปได้

ขั้นตอนที่ 6 : ศพจะถูกแช่เกลือไว้สี่สิบวันจนแห้งดี แล้วจะถูกนำมาชำระล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำ

ไนล์อีก แล้วจะเคลือบผิวหนังด้วยน้ำมันเพื่อให้ผิวหนังคงสภาพอ่อนนุ่มไม่แห้งกระด้างไปตามกาลเวลา

ขั้นตอนที่ 7 : อวัยวะภายในที่แห้งแล้วจากการแช่เกลือ ก็จะถูกนำกลับมาบรรจุในช่องท้องและช่องอกตามเดิม

ขั้นตอนที่ 8 : แล้วจะเติมด้วยของแห้งอย่างอื่นให้เต็ม เช่นขี้เลื่อยหรือใบไม้และผ้าลินิน เพื่อให้ดูเหมือนยามมีชีวิตอยู่ ไม่ยุบตัวลงไปตามกาลเวลาในภายหลัง

ขั้นตอนที่ 9 : จากนั้นก็จะชำระศพด้วยน้ำมันหอมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปพันผ้าลินินในขั้นต่อไป